
เราเชื่อว่าหลายคนคงจะเคยรู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งเมื่อได้รับชมวิดีโอระดับความคมชัดสูง แต่ได้ยินเสียงที่มีคุณภาพแย่มาก เนื่องจากเสียงในวิดีโอนั้นไม่ได้รับการประมวลผลจากโปรแกรมตัดต่อเสียง โดยทั่วไปนักตัดต่อวิดีโอมืออาชีพจะมีการใช้ เทคนิคการตัดต่อเสียง ต่าง ๆ ในโปรแกรมตัดต่อเสียงไม่ว่าจะเป็น การขยายเสียง การบีบอัดเสียง รวมไปจนถึงการลบเสียงรบกวน เพื่อปรับแต่งเสียงให้มีคุณภาพและฟังสบายหู ดังนั้น เราจึงได้รวบรวม 5 เทคนิคตัดต่อเสียง ระดับมืออาชีพมาแนะนำทุกคน ซึ่งจะมีเทคนิคอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้ในบทความนี้เลย
5 เทคนิคตัดต่อเสียง ที่นักตัดต่อวิดีโอมืออาชีพแนะนำ
การเรียนรู้เทคนิคตัดต่อเสียง จากผู้ที่มีประสบการณ์หรือนักตัดต่อวิดีโอมืออาชีพนั้น ถือได้มีประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์วิดีโอที่มีเสียงประกอบเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เทคนิคการตัดต่อเสียง เหล่านี้ จะช่วยทำให้กระบวนการตัดต่อเสียงของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและยังทำให้คุณภาพเสียงในวิดีโอไพเราะและฟังสบายหู
โดยทั่วไป การตัดต่อเสียงจะแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การบันทึกและการมิกซ์เสียง ซึ่งในปัจจุบันคุณสามารถการตัดต่อเสียงเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ในโปรแกรมตัด ต่อ เสียง บันทึก ฟรี เช่น AUDACITY, AUDIOTOOL และ OCENAUDIO เป็นต้น และเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังในขณะฟังเพลงหรือคลิปเสียงของคุณ เราขอแนะนำ 5เทคนิคตัดต่อเสียง ง่ายๆ ที่นักตัดต่อวิดีโอมืออาชีพแนะนำ ดังนี้
1. การขยายเสียง เพื่อเพิ่มระดับเสียงตลอดทั้งแทร็กเสียง

การขยายเสียง คือ การเพิ่มระดับเสียงให้ผู้ฟังได้ยินได้อย่างชันเจน ซึ่งเทคนิคตัดต่อเสียงนี้มักจะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มเสียงที่บันทึกไว้ โปรแกรม ตัด ต่อ เสียงบันทึก บางโปรแกรม คุณสามารถคลิกปุ่มเพื่อเพิ่มระดับเสียงได้โดยตรงตลอดทั้งคลิปเสียง ในขณะที่ในบางโปรแกรม คุณต้องป้อนค่าเดซิเบลลที่ต้องการด้วยตนเอง และอย่าลืมว่า การขยายเสียงสามารถสร้างหรือทำลายคุณภาพของคลิปเสียงได้ หากคุณขยายระดับเสียงเกิน 0DB มากเกินไป
2. การบีบอัดเสียง เพื่อเปลี่ยนไดนามิกของระดับเสียงในแทร็กเสียง

สำหรับเทคนิคตัดต่อเสียงด้วย การบีบอัดเสียง จะช่วยทำให้คลิปเสียงของคุณมีความสมดุลมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คุณบันทึกเสียงตัวเองร้องเพลง แต่ในคลิปเสียงนั้นมีทั้งช่วงที่เสียงดังและช่วงที่เสียงเบา ซึ่งมันอาจทำให้ผู้ฟังระคายเคืองหูและเสียสมาธิ แต่คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการใช้ฟังก์ชันคอมเพรสเซอร์ที่มักพบในโปรแกรมตัดต่อเสียง ฟังก์ชันนี้จะช่วยลดความแตกต่างของระดับเสียงระหว่างส่วนที่ดังและส่วนที่เงียบในเพลง
3. EQUALIZATION เพื่อจัดการคลื่นความถี่ของแทร็กเสียง
เทคนิคตัดต่อเสียงEQUALIZATION หรือ อีควอไลเซอร์ เป็นการ ตัดต่อเสียงบันทึก ด้วยการปรับเปลี่ยนช่วงความถี่เสียงระหว่าง 20-20K HZ ช่วยปรับระดับความดังของย่านเสียงย่านต่างๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินเสียงอย่างที่เราต้องการ ซึ่ง EQUALIZATION มี 3 หน้าที่หลัก ดังนี้
- LOW CUT : เพื่อลบเสียงความถี่ต่ำกว่า 400HZ
- HIGH CUT : เพื่อลบเสียงที่สูงกว่า 2K HZ
- BELL BOOST : เพื่อปรับปรุงส่วนใดส่วนหนึ่งของความถี่ระหว่าง 20 – 20KHZ
4. การจำกัดระดับเสียงของคลิปเสียงตามค่าอินพุต

เมื่อคุณ แก้ไขเสียง ในโปรแกรมตัดต่อเสียง แล้วพบว่าระดับเสียงสูงกว่า 0DB คุณสามารถใช้ LIMITER เพื่อขจัดความผิดเพี้ยนของเสียงได้ ซึ่งเทคนิคตัดต่อเสียงนี้จะช่วยเพิ่มระดับเสียงโดยไม่บิดเบือนคลิปเสียง และเป็นกระบวนการสุดท้ายในการแก้ไขเสียง
5. NORMALIZATION เพื่อค่อย ๆ เพิ่มระดับเสียงตลอดทั้งแทร็กเสียง
เทคนิคตัดต่อเสียงให้เป็นมาตรฐานนั้น จะถูกใช้เมื่อเสียงมีช่องว่างต่ำกว่าเครื่องหมาย 0DB เพื่อเพิ่มระดับเสียงเช่นเดียวกับการขยายเสียง แต่จะทำการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยและขึ้นอยู่กับระดับเสียงสูงสุดที่พบในคลิปเสียงด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโปรแกรม ตัดต่อเสียงฟรี ในปัจจุบันจะสามารถขยายเสียงได้ดี แต่ NORMALIZATION จะช่วยทำให้คุณสามารถควบคุมการขยายเสียงได้มากยิ่งขึ้น
เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บบาคาร่าที่คนเล่นเยอะที่สุด เว็บพนันออนไลน์ ที่ดีที่สุด