
การเรียกรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบ ทฤษฎีการออกแบบ และกฎทั่วไปสำหรับการ ออกแบบกราฟิก ถือเป็นสิ่งที่นักออกแบบกราฟิกมืออาชีพต้องเรียนรู้ เพื่อช่วยทำให้การสร้างสรรค์ผลงานกราฟิกของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งหลักการจัดองค์ประกอบการออกแบบกราฟิก ก็เป็นอีกหนึ่งหลักการที่นักออกแบบกราฟิกทุกคนต้องรู้ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีหลักการจัดองค์ประกอบในการออกแบบกราฟิก ที่นักออกแบบกราฟิกทุกคนควรรู้มาแนะนำ ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้
การจัดองค์ประกอบการ ออกแบบกราฟิก ที่นักออกแบบกราฟิกทุกคนต้องรู้
เมื่อเริ่มต้นเป็นนักออกแบบกราฟิก สิ่งแรกที่จะช่วยทำให้การ ออกแบบกราฟิก ของคุณเป็นเรื่องง่ายและเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักออกแบบกราฟิก ก็คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการจัดองค์ประกอบในการออกแบบกราฟิก รวมถึงการเลือกใช้โปรแกรมสำหรับสร้างสรรค์ผลงานกราฟิกของคุณ อย่างเช่น PHOTOSCAPE โปรแกรมออกแบบกราฟิกฟรีที่เหมาะกับนักออกแบบมือใหม่ ซึ่งวันนี้เราก็จะมา สอนออกแบบกราฟิก ตามหลักการจัดองค์ประกอบกราฟิก ดังนี้

- BALANCE (ความสมดุล) : การการจัดเรียงองค์ประกอบภายในทั้งแบบสมมาตร ไม่สมมาตร หรือแนวรัศมี เพื่อสร้างความสมดุลให้แก่องค์ประกอบต่าง ๆ
- SCALE (มาตราส่วน) : มาตราส่วนมีผลต่อความสมดุลขององค์ประกอบ วลีที่ว่า “ใหญ่กว่าย่อมดีกว่าเสมอ” นั้นใช้ไม่ได้กับการออกแบบกราฟิกเสมอไป บางครั้งองค์ประกอบเล็ก ๆ ก็สามารถดึงดูดความสนใจได้ดีพอ ๆ กับวัตถุที่มีขนาดใหญ่
- CONTRAST (การตัดกัน): คุณเคยเห็นโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ที่อ่านยากเพราะพิมพ์สีเทาเข้มตัดกับหมึกสีดำหรือไม่? สิ่งนี้เกิดจากการขาดคอนทราสต์หรือการจัดเรียงขององค์ประกอบที่ตรงกันข้าม ดังนั้น การใช้สีที่ตัดกันจะช่วยทำให้ผู้ชมสามารถแยกแยะสีได้ด้วยสายตา เช่น สีแดงและสีเหลือง เมื่ออยู่ไกลจากคุณก็จะสามารถแยกแยะได้กับตา
- PATTERN (ลวดลาย): การทำซ้ำขององค์ประกอบภาพที่เฉพาะเจาะจง แพทเทิร์นสามารถสร้างความสมดุล จัดระเบียบพื้นผิวในลักษณะที่สอดคล้องกัน หรือสร้างคอนทราสต์ให้กับผลงานของคุณได้ เช่น ลวดลายกระเบื้องปูพื้น
- MOVEMENT AND RHYTHM (การเคลื่อนไหวและจังหวะ): การเคลื่อนไหว คือ จุดนำสายตาขององค์ประกอบจากด้านหนึ่งไปอีกด้าน ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้องค์ประกอบหรือรูปแบบการทำซ้ำหรือสลับกัน ความถี่ของบางสิ่งที่เกิดซ้ำและความเข้มของคอนทราสต์ทำให้เกิดจังหวะ
- EMPHASIS (เน้น): การเน้น คือ คุณลักษณะที่แตกต่างเพื่อแยกองค์ประกอบออกจากองค์ประกอบหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้หลักการอื่น ๆ เช่น คอนทราสต์ การเคลื่อนไหว มาตราส่วน หรือความสมดุล
- UNITY (ภาพรวม): การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้มองเห็นถึงภาพรวม และสร้างองค์ประกอบภาพที่น่าดึงดูดใจให้เป็นหนึ่งเดียว
การเลือกโปรแกรมออกแบบกราฟิก ที่ดีที่สุด

- คุณรู้หรือไม่? สิ่งสำคัญอีกหนึ่งสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการออกแบบกราฟิก ก็คือการเลือกใช้งาน โปรแกรมออกแบบกราฟิก โดยทั่วไปนักออกแบบกราฟิกมืออาชีพจะมีโปรแกรมสำหรับสร้างและแก้ไขผลงานกราฟิกเฉพาะตัว ซึ่งการใช้งานแต่ละโปรแกรมก็ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชำนาญของนักออกแบบแต่ละคน ในปัจจุบันมีโปรแกรมออกแบบกราฟิกมากมาย แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าโปรแกรมไหนดีที่สุด? ดังนั้น วันนี้เราจึงมีเทคนิคการเลือกโปรแกรมออกแบบกราฟิกที่ดีที่สุดให้เหมาะกับการออกแบบกราฟิกของคุณ ดังนี้
- เลือกโปรแกรมที่มีเครื่องมือการออกแบบกราฟิกที่คุณสามารถใช้งานได้ง่าย เพราะมันจะช่วยทำให้คุณสามารถค้นหาองค์ประกอบที่ต้องการได้ง่าย และประหยัดเวลาอีกด้วย
- เลือกโปรแกรมที่มีเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบกราฟิกที่ครบครัน เช่น โปรแกรมกราฟิก PHOTOSCAPE โปรแกรมออกแบบฟรีที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนขนาด, ปรับความสว่าง, ปรับสมดุลสีขาว, เพิ่มกรอบภาพ, ปรับโหมดโมเสก, เพิ่มข้อความ, เพิ่มรูปภาพ, วาดรูป ,การรีทัชภาพแก้ไขภาพ ,การตกแต่งภาพ, PAINT BRUSH, CLONE STAMP, EFFECT BRUSH และอื่น ๆ อีกมากมาย
- เลือกโปรแกรมออกแบบกราฟิกที่ไม่มีลายน้ำ
- หากคุณเป็นนักออกแบบกราฟิกมือใหม่ แนะนำให้ลองใช้ซอฟต์แวร์ที่มีเทมเพลตและเครื่องมือเฉพาะ ซึ่งเทมเพลตเหล่านี้สามารถปรับปรุงผลงานกราฟิก และช่วยให้คุณจัดการผลงานเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น