ในปัจจุบันด้วยการมีของเทคโนโลยีที่ทันสมัยและรวดเร็วทำให้มนุษย์เราก็มีการปรับตัวตามอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ทำให้กระบวนการทำ ภาพอินโฟกราฟิก เริ่มมีบทบาทในสังคมมากขึ้น เพราะว่า ผู้คนในปัจจุบันต้องการรู้แบบให้พอรู้ ยังไม่ต้องรู้ลึก การรับรู้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายจะช่วยให้ผู้ชมสนใจที่จะอ่าน และใช้เวลาในการรับรู้ข้อมูลไม่ต้องมากยิ่งเป็นข้อมูลที่มากด้วยแล้ว การทำแบบนี้จะยิ่งช่วยลดความน่าเบื่อของการรับสารข้อมูลอีกด้วย
รวมตัวช่วยในการจุดประกายในการทำภาพอินโฟกราฟิก
ในการออกแบบ ภาพอินโฟกราฟิก ที่ต้องการของสื่อหลายชนิด แต่หลายครั้งต้องการประหยัดงบ หรือบางคนเริ่มอยากหัดทำนั้นติดปัญหาเรื่องไอเดีย องค์ประกอบของภาพอินโฟกราฟิก การเลือกสี กราฟิกดีไซน์ หรือแม้แต่เปิดหัวข้อมายังไม่รู้จะเร่มยังไง ทางเราจึงจะแนะนำตัวช่วยในการทำ ภาพ infograhic
1. PINTEREST

เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นสำหรับรวบรวมรูปภาพและวิดีโอที่น่าสนใจจากทั่วโลก โดยผู้ที่ลงผลงานสามารถเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ได้ จึงเปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ GALLERY ที่โชว์ผลงานของตนเองให้กับคนทั้งโลกได้ชม ทางเว็บไซต์ PINTEREST จะมีความโดดเด่นทางการหาแนวทางสายอาร์ต ไม่ว่างานกราฟิก วาดภาพ ตกแต่งภายใน แต่งสวน หรือกระทั่ง ภาพอินโฟกราฟิก สามารถหาแนวทางตัวอย่างอินโฟกราฟิก เช่น ต้องการหา INFOGRAPHICสายสุขภาพ ทาง PINTEREST ก็จะตามหา INFOGRAPHIC ต่างๆ ที่เป็นแนวทางให้เราได้
ฟังก์ชั่นที่หลายๆ คนชอบใน PINTEREST คือการจดจำไลพ์สไตล์งานหรือภาพที่เราชอบ เพื่อมาแนะนำในหน้าหลักของเราได้ และยังมีการติดตามศิลปินที่ตัวเองชอบเพื่อติดตามงานต่างๆ ของเขาได้อีกด้วย
2. INFOGRAPHIC THAILAND

การศึกษาการออกแบบ งานออกแบบกราฟิก แบบมืออาชีพ อีกอย่างก็คือการศึกษากับมืออาชีพอย่างINFOGRAPHIC THAILAND ที่รับทำ ภาพอินโฟกราฟิก และยังมีคอร์สออนไลน์ในการทำอินโฟกราฟิก กับหลักสูตรอบรม ถ้ายังไม่ได้สนใจถึงขั้นเรียนเรื่องการทำอินโฟกราฟิก เพจนี้ยังเป็นการรวมเอา INFOGRAPHIC ดีๆ มาบอกต่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ และสนุกไปกับข้อมูลและเรื่องราวใหญ่ๆใกล้ตัว ซึ่งเป็นตัวอย่างเอาไว้ศึกษาและหาแนวทางได้ เพื่อปรับมาทำ INFOGRAPHIC ในแบบของตัวเอง เพราะด้วยความเป็นคนไมยจะเข้าใจว่าจะดึงดูดให้คนไทยมาสนใจ ภาพอินโฟกราฟิก ของตนเองได้ยังไง งานด้านกราฟิก
3. BETTERPITCH

เป็นอีกเพจหนึ่งที่ควรค่าในการศึกษาการทำ ภาพอินโฟกราฟิก รวมไปถึงการในเสนองานในรูปแบบสไลต์ MICROSOFT POWERPOINT อีกด้วยว่าการจัดองค์ประกอบของภาพจะสามารถสื่อจุดประสงค์ของงานยังไงให้เข้าใจง่ายที่สุด แค่กดติดตามเพจ เวลาขึ้นหน้าฟีตของเราใน FACEBOOK ก็จะได้เกร็ดข้อมูลความรู้เพิ่มเติมความสามารถในการออกแบบของเราได้
สำหรับบางคนที่ชอบนั่งอ่านสือมากกว่ามางมหาข้อมูลทางเพจ BETTERPITCH มีหนังสือพูดด้วยภาพ 1 และ 2 เป็นการแนะนำการนำเสนอข้อมูลอีกด้วย แถมยังคอร์สเล่นออนไลน์ฟรีและคอร์สดีไซน์ INFOGRAPHIC 1 PAGE ในราคาแค่ 1,500 บาท
4. CANVA

CANVA เป็นโปรแกรม GRAPHIC DESIGN ที่เรียกได้ว่าสารพัดประโยชน์เหมาะมือใหม่ยันไปถึงมืออาชีพในด้านการทำ ภาพอินโฟกราฟิก ภายใน CANVA มี INFOGRAPHIC TEMPLATE มาให้คุณเลือกกันอยู่แล้ว แค่คุณต้องการรูปแบบไหน แถมยังเจาะจงไปถึงแนว TEMPLATE ที่ต้องอีกด้วย เช่น การศึกษา ธุรกิจ การนำเสนอ โฆษณา และอีกมากมาย เหล่านี้จะช่วยให้คุณทำงานง่ายมากขึ้น เพราะมันจะเหมาะกับสิ่งที่คุณจะเสนอ อย่างเช่นแบบ ธุรกิจ ก็จะมีมีตัวเลขให้ดูเยอะๆ หรือแบบโฆษณาที่จะย่อตัวอักษรเน้นการนำเสนอรูปภาพแทน หลังจากเลือก TEMPLATE แล้วคุณยังสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยนได้อีกด้วย
ในการแก้ไขของ CANVA เพื่อทำ ทำกราฟิก มีฟังค์ชั่นที่น่าสนใจหลายรูปแบบมากเช่น แนะนำการปรับฟอร์นภาษาไทยกับอังกฤษให้มีแนวทางใกล้เคียงกัน หรือคุณขาด ELEMENT อะไรเช่นรูปภาพ หรือ EFFECT ทางเว็บไซต์ก็มีให้ใช้มากมาย ทาง CANVA นั้นรองรับภาษาไทย และทำ กราฟิกฟรี แต่ก็จะขอบเขตในการใช้เครื่องมือของ CANVA แต่ถ้าหากอยากได้มากกว่านี้ก็สามารถสมัครขั้น PRO เพื่อปลดล็อคทุกอย่างใน CANVA ใน ราคา $9.95 เพื่อการทำ ภาพอินโฟกราฟิก ที่ช่วยงามมากขึ้น
5. ADOBE SPARK

ADOBE SPARK เป็นอีกเครื่องมือที่ใช้ทำ ภาพอินโฟกราฟิก แบบสำเร็จรูปอันยอดเยี่มเพราะว่ามี INFOGRAPHIC TEMPLATE มีตัวเลือก ประเภทของกราฟิก ให้เลือกมากมายมหาศาล แต่ละแบบยังดูสวยงามและดูเหมือนมืออาชีพคนหนึ่งออกแบบมา ด้วยการสร้างวิธีเดียวกับ CANVA นั่นคือใช้ระบบ DRAG AND DROP ทำให้การสร้างอินโฟกราฟิกขึ้นมาสักอันง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปากC]Tที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือ งานทุกอย่างของคุณจะเก็บไว้ใน CLOUD ดังนั้นสามารถเข้าถึงงานของคุณได้ทุกที่ทุกแห่ง ขอแค่คุณมีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือ TABLET
แต่จะติดตรงที่โปรแกรมไม่สามารถลบลายน้ำออกจากงาน กราฟิกดีไซน์ ของเราได้ และมีแบบฟรีสำหรับ INFOGRAPHIC TEMPLATE แค่ประมาณ 140 แบบ ถ้าต้องการเพิ่มเติมกว่านี้จะมี ADOBE SPARK PRO ที่แบบมากกว่าหลายเท่า และสามารถทำงานแบบแทคทีมได้ เพิ่มเติมฟังก์ชันให้เลือกงานได้อีกมากเลย ด้วยราคาประมาณ 320 บาท แล้วแต่โปรที่คุณเลือกมา
6. VISME

VISME จัดได้ว่าเป็นน้องใหม่ของวงการสร้าง ภาพอินโฟกราฟิก ได้ภายในไม่กี่นาทีเท่านั้น ด้วยระบบที่เหมือนกันของเจ้าอื่นนั้นคือ DRAG AND DROP เหมือนตัวอื่นๆ แต่ที่แตกต่างจากเจ้าอื่นเลยั้นก็คือการทีมีวิดีโอสอนทั้งหมดว่าจะสร้างอินโฟกราฟิกแบบไหนด้วยวิธีอย่างไร ทำให้คุณไม่ต้องไปลองจิ้มมั่วหาวิธีเอง นอกจากนั้น VISME ยังมีฟังก์ชันที่สามาถดึงดูดสายตาของผู้ชมของคุณได้เช่น EFFECT ต่างๆ มากมายที่ทำให้ตัวเลขของคุณสวนน่าอ่าน และคุณยังสามารุใส่ VIDEO ลงไปในงานของคุณได้ด้วย
VISME ค่อนข้างใจกว้างสำหรับสายฟรี เพราะคุณสามารถเข้าถึงรูปต่างๆ ได้ถึง 500,000 รูป INFOGRAPHIC TEMPLATE อีกกว่า 50 แบบ รวมไปถึงทุกฟังช์ชั่นของทางเว็บไซต์ แต่คุณสามารถสร้างผลงานได้เพียง 5 ชิ้นเท่านั้น ถ้าครบแล้วต้องการทำต่อต้องอัพเกรดเป็นแบบ PRO ในราคา $14 – $25 ต่อเดือน
ข้อคำแนะนำทิ้งท้ายสำหรับมือใหม่หัดทำอินอินโฟกราฟิก
จากการแนะนำตั้งแต่แรกนั้นทำให้ทุกคนเข้าใจ อินโฟกราฟิกคือ อะไรและรู้จักวิธีทำ เผื่ออาจเป็นหนทางสู้ กราฟิกฟรีแลนซ์ ต่างๆ จะเห็นได้ว่าตัวช่วยในการสร้างและแนวทางการทำอินโฟกราฟิกมีจำนานมาก ทั้งนี่ก็แล้วแต่ความชอบและกำลังซื้อของแต่ละคนว่ามีมากน้อยแค่ไหน และเวลาที่หาแนวทางคือคุณต้องรู้จักมาปรับเปลี่ยนด้วยไม่ใช่การก็อปมาทั้งหมดแล้วเสร็จในทันที ถ้าหากไม่ใช่พวกเว็บไซต์ช่วยสร้างคุณอาจจะเดือดร้อนก็”ด้ ยังไงจากทั้งหกตัวช่วยทุกคนก็ลองทำอินโฟกราฟิกในแบบของตัวเองดูนะ
ภาพจาก:
HTTPS://CONTENTSHIFU.COM/BLOG/HOW-TO-USE-PINTEREST-TO-COLLECT-IDEAS
HTTPS://WWW.FACEBOOK.COM/INFOGRAPHIC.THAILAND/
HTTPS://WWW.FACEBOOK.COM/BETTERPITCH/PHOTOS/A.270177833412060/571632096599964/
HTTPS://WWW.CANVA.COM/TH_TH/FEATURES/
HTTPS://WWW.GOOGLE.COM/SEARCH?Q=ADOBE+SPARK&OQ=ADOBE+SPARK&AQS=EDGE..69I57J0I512L7.493J0J1&SOURCEID=CHROME&IE=UTF-8
HTTPS://FIXTHEPHOTO.COM/TH/VISME-ONLINE-DESIGN-SOFTWARE-REVIEW.HTML