คุณทราบหรือไม่? ว่าการตั้งค่ากล้องถ่ายรูป มีหลากหลายโหมดให้คุณได้เลือกปรับใช้งาน แต่มีอีกหนึ่งโหมดที่น่าสนใจที่ช่างภาพทุกคนไม่ควรมองข้าม นั่นคือ โหมด HDR เป็นโหมดที่ช่วยดึงเอาเงาที่ลึกที่สุดและไฮไลท์ที่สว่างที่สุดของฉากในรูปภาพออกมา โหมดนี้มีประโยชน์สำหรับการภาพถ่ายสถานที่กลางแจ้งต่าง ๆ เช่น รูปภาพวิวทิวทัศน์ แต่ภาพถ่าย HDR ก็มักมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการองค์ประกอบของรูปภาพ ซึ่งบทความนี้จะพาคุณทำความรู้จักกับภาพถ่าย HDR และปัญหาที่คุณอาจเจอเมื่อเริ่มต้นใช้งานโหมด HDR
ภาพถ่าย HDR คืออะไร?

หลายคนคงกำลังสงสัยว่าภาพถ่าย HDR คืออะไร? ซึ่งโดยปกติแล้วสายตาของมนุษย์สามารถมองเห็นแสงได้ประมาณ 11 สต็อป แต่กล้องถ่ายรูปจะทำให้คุณสามารถเห็นแสงได้ประมาณ 3 สต็อป ซึ่งหมายความว่า คุณจะต้องตั้งค่ากล้องเพื่อถ่ายภาพหลาย ๆ ภาพในฉากเดียว หากคุณเลือกใช้ซอฟต์แวร์ HDR (High Dynamic Range) คุณจะเห็นแสงได้อย่างชัดเจนทั่วทั้งภาพถ่าย ทำให้ภาพถ่ายของคุณดูมีมิติมากยิ่งขึ้น ปกติแล้วในการถ่ายภาพมันจะมีช่วงความแตกต่างของภาพอยู่ 2 ช่วงนั่นคือช่วงมืดและช่วงสว่าง HDR ถือเป็นวิธีการรวมภาพตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นเข้าด้วยกัน เพื่อปรับสมดุลของภาพให้ดูเด่นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความละเอียด และความเด่นชัดของภาพให้สูงขึ้น นอกจากนี้กล้องถ่ายรูปส่วนใหญ่มักมีคุณสมบัติ HDR เฉพาะที่ให้คุณปรับการตั้งค่าได้อย่างอิสระ
การสร้างภาพถ่าย HDR ให้คุณลองพิจารณาไปที่การตั้งค่าของกล้องถ่ายรูป แล้วเลือกโหมด Bracketing หรือ BKT โหมดนี้จะทำให้กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องที่มีค่าแสงต่างกันให้โดยคุณต้องตั้งค่าเป็น 2 EV, 0 EV และ +2 EV และกล้องส่วนใหญ่ในยุคนี้ก็สามารถรวมภาพทำ HDR ได้อย่างอัตโนมัติ แต่ก็ยังไม่เนียนเท่ากับการทำด้วยโปรแกรมอย่างเช่น โปรแกรม Lightroom

ภาพของฉากเดียวกันที่ถ่ายด้วยการเปิดรับแสงที่แตกต่างกันจะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ภาพมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ภาพที่ 2 ที่เป็นการ ตั้งค่า 2 EV, 0 EV และ +2 EV ซึ่งเป็นภาพ HDR จะแสดงคอนทราสต์น้อยกว่าเล็กน้อย และมีรายละเอียดมากขึ้นในเงามืด ทำให้สีของภาพถ่ายดูสดใสและอิ่มตัวมากขึ้น
ปัญหาที่คุณอาจเจอเมื่อถ่ายภาพ HDR

การสร้างภาพถ่าย HDR ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ช่างภาพ แต่บางครั้งภาพ HDR ในอินเทอร์เน็ตก็เต็มไปด้วยความเกินจริง และดูเหมือนว่าปัญหาจะเกิดจากการประมวลผลภาพ HDR แบบอัตโนมัติที่มากเกินไป ซึ่งความจริงแล้วโหมด HDR เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่มีเป้าหมาย คือการขยายช่วงไดนามิกของรูปภาพของคุณ รูปภาพ HDR ที่ดีนั้นต้องมีความละเอียดอ่อนและดูเป็นธรรมชาติ และคุณไม่จำเป็นต้องลบคอนทราสต์ของภาพออกเพราะว่ามันทำให้ทุกอย่างในภาพถ่ายดูมีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น